The Probability of Failure in Geotechnical Analysis

ภาพงานบรรยายพิเศษหัวข้อ “The Probability of Failure in Geotechnical Analysis”
โดย Prof. D. Vaughan Griffiths จาก Colorado School of Mines ประเทศสหรัฐอเมริกา
📌วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2567📌
⏰ เวลา 14.00 – 16.30 น.
🏢ณ ห้องโกเมน อาคารภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ชั้น 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   

รองศาสตราจารย์ ดร.สุพฤทธิ์ ตั้งพฤทธิ์กุล

ขอแสดงความยินดีกับ👏🎉
🌟ผศ.ดร.สุพฤทธิ์ ตั้งพฤทธิ์กุล🌟
สังกัดภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
เนื่องในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
🧑🏻‍🏫” รองศาสตราจารย์ “📚
สาขาวิชา 1106 วิศวกรรมทรัพยากรธรณีและเหมืองแร่
อนุสาขาวิชา 110601 วิศวกรรมทรัพยากรธรณี

 English for Communication Program

ค่ายฝึกอบรม English for Communication Program สำหรับนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียมชั้นปีที่ 4

ณ ห้องโกเมน ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม ถึง 3 เมษายน 2567
    

บรรยายพิเศษ “กว่าจะมาเป็นวิศวกร บนเรือสำรวจ”

ภาพงานบรรยายพิเศษหัวข้อ “กว่าจะมาเป็นวิศวกร บนเรือสำรวจ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567

ณ ห้อง Slope ชั้น 3 ตึก RTT คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดย คุณวิชชากรณ์ รักทางธรรม (Marine Geophysical Engineer) จากบริษัท Geo Marine Survey Systems; The Netherland

             

มช. ผนึกกำลัง บ้านปู พัฒนางานวิชาการ วิจัย นวัตกรรม

มช. ผนึกกำลัง บ้านปู พัฒนางานวิชาการ วิจัย นวัตกรรม ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และต่อยอดต่อการพัฒนาประเทศ

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร.ธีระชัย พรสินศิริรักษ์ Head of Digital and Innovation บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชี่ยวชาญ ลีลาสุขเสรี หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ คุณ จามร จ่าเมือง Head of Mining Business และคุณ พิทักษ์ วุฒินนท์ชัย Vice President – Geoscience บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ การวิจัย และนวัตกรรม ร่วมกัน เมื่อวันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ.2567 ณ ห้องตะวัน กังวานพงศ์ สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางด้านวิชาการ การวิจัยและนวัตกรรม ตลอดทั้งการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัย ตรงตามความต้องการของบริษัทและตลาดแรงงาน
.
ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวว่า “บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ถือเป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมพลังงานของประเทศและในระดับนานาชาติ ที่มุ่งเน้นการทำธุรกิจตามหลัก ESG (Environmental, Social and Governance) และกำลังขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มุ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม ผมขอขอบคุณบริษัท ฯ เป็นอย่างยิ่งที่เห็นความสำคัญของความร่วมมือในครั้งนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าด้วยการสนับสนุนทั้งด้านทรัพยากรบุคคลและองค์ความรู้ทางเทคนิคด้านพลังงานและการลดการปล่อยคาร์บอนจากบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาช่วยขยายศักยภาพ สนับสนุน และส่งเสริมการศึกษาไทย พร้อมเติมเต็มองค์ความรู้ ที่จะนำมาช่วยพัฒนาประเทศ อีกทั้งช่วยผลิตกำลังคนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของวงการพลังงานสะอาดที่จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมไร้คาร์บอนให้กับประเทศไทยต่อไป”
.
ด้าน ดร.ธีระชัย พรสินศิริรักษ์ Head of Digital and Innovation บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในครั้งนี้ว่า “บ้านปูให้ความสำคัญกับ “การสร้างเสริมศักยภาพและพลังให้กับคน” (Human Empowerment) เรามีเป้าหมายที่จะสร้างองค์กรของเราให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต บริษัทฯ จึงมีหลักสูตรฝึกอบรมที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับพนักงานของเรา รวมทั้งร่วมมือกับมหาวิทยาลัย องค์กรพันธมิตรต่างๆ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยน เผยแพร่ และแบ่งปันองค์ความรู้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อ บริษัทฯ และพนักงานของเราในการพัฒนาสินค้าและบริการที่ดียิ่งขึ้นไปแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้สังคมได้ ประโยชน์จากการต่อยอดความร่วมมือดังกล่าวอีกด้วย วันนี้ จึงนับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของ บ้านปู ในการขับเคลื่อนการเรียนรู้โดยความร่วมมือระหว่างเราทั้งสององค์กร ซึ่งจะครอบคลุมกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต บ้านปู จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีอันจะนำไปสู่กิจกรรมและโครงการด้านการศึกษาเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง พร้อมยังช่วยส่งเสริมและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ รวมไปถึงพัฒนาขีดความสามารถของทั้งสองฝ่ายให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร ตลอดจนประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป”

https://www.cmu.ac.th/th/article/ae9a96bb-7f75-4fc9-a99f-513a86e7222b

CMU ต้อนรับคณาจารย์จาก University of Leeds, United Kingdom

Associate Professor Dr. David Harbottle Visiting Associate Professor from University of Leeds, United Kingdom เข้าเยี่ยมคาราวะ รองศาสตราจารย์ ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่่ และปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการ พร้อมทั้งหารือความร่วมมือระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัย เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2567 ณ ห้องรับรอง ม.ล.ปิ่น มาลากุล อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ENG CMU Welcomes Assoc.Prof. David Harbottle From University of Leeds

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดยคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร พร้อมด้วยรองคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกฎ ใยบัวเทศ ทิพยาวงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชี่ยวชาญ ลีลาสุขเสรี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพฤทธิ์ ตั้งพฤทธิ์กุล  อาจารย์สังกัดภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์ พรหมสุข อาจารย์สังกัดภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ให้การต้อนรับ Associate Professor David Harbottle จาก University of Leeds สหราชอาณาจักร ณ ห้องประชุมสำนักงานคณบดี ชั้น 6 อาคาร 30 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์

ในโอกาสเดินทางมาปฏิบัติงานด้านการสอน การวิจัย และให้การปรึกษาด้านการพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในระหว่างวันที่ 15 – 22 มกราคม 2567 พร้อมกันนี้ได้ให้เกียรติเป็นผู้บรรยายในการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “Droplets and Interfaces: Case Studies on Petroleum-Based Systems” ในวันที่ 22 มกราคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์อีกด้วย

https://eng.cmu.ac.th/?p=36953&fbclid=IwAR0HmqxDF6Gxvbpg8THjASM0p9VSlqUHsVw1lOqINum3RCQ0UnWvjX5D-hI

 

More than 114.9 Million THB. IPM Software Donation from Petroleum Experts 2024

This year, in 2024, Petroleum Experts (Petex) has kindheartedly donated 10 licenses of the Integrated Production Modelling (IPM) software suite to the Department of Mining and Petroleum Engineering, Faculty of Engineering, Chiang Mai University. The donation is commercially valued at 2,584,803.53 GBP, which is equivalent to more than 114.9 Million THB. The IPM software suite is capable of modeling the entire oil or gas production and injection system, including reservoirs, wells, and the surface network. It serves as a supportive tool for teaching in both BS and MSc programs, as well as for research related to Petroleum Engineering.

The Department of Mining and Petroleum Engineering, Faculty of Engineering, Chiang Mai University, would like to cordially thank Petex for this generous donation, which will strongly support our teaching, research, and student development.